: การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนคาสายสวนปัสสาวะ

  ผู้ป่วยอาจได้รับการสวนคาสายสวนปัสสาวะในระยะเวลาสั้น หรือบางรายจำเป็นต้องคาสายสวน
ไว้นานขี้นอญู่กับสภาพของผู้ป่วยและแผนการรักษาการสวนคาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน
จะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาททีสำคัญใน
การป้องกันภาวะแทรกช้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยให้การพยาบาล ดังต่อไปนี้
     1. ดูแลให้ปัสสาวะไหลสะดวก (Free draiage)โดย
1.1 กระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2,500-3,000 มิลลิลิตร เพื่อเป็นการชะล้างภาย
ในทางเดินปัสสาวะ (intenal irrigation) ด้วยการเพิ่มจำนวนปัสสาวะที่ออกมา ทำให้น้ำ
ปัสสาวะเจือจาง ไม่ตกตะกอน
1.2 ดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะหัก พับงอหรือดึงรั้งท่อปัสสาวะโดยยึดตรึงไว้ด้วย
พลาสเตอร์ที่บริเวณต้นขาด้านใน สำหรับผู้ป่วยหญิง และบริเวณท้องน้อยหรีอโคนขาสำหรับผู้ป่วยชาย
1.3 สายสวนปัสสาวะและสายต่อของถุงเก็บปัสสาวะยึดติดกับที่นอน ไม่ปล่อยให้เป็นสาย
หย่อนอยู่ใต้เตียง
1.4 ถังเก็บปัสสาวะ ควรอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะเสมอ เพื่อให้มีการไหลของ
ปัสสาวะสะดวก
1.5 ดูแลบีบรีดสายยาง (milking) บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนหรือลิ่มเลีอดอุดกั้นอยู่
ภายในสายยาง การบีบรีดสายยางโดยใช้มือข้างหนึ่ง จับสายยางให้อยู่กับที่ ขณะที่มืออีกข้าง
บีบรัดสายยางออกจากตัวผู้ป่วย
     2. การป้องกันการติดเชึ้อ
2.1 ดูณลให้อยู่ในระบบปิด (closed drainage system) ตลอดเวลา หากจำเป็นต้องเก็บ
ปัสสาวะส่งตรวจ หรือเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงก่อนและหลังทำ จะต้องเช็ดบริเวณนั้น ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
2.2 การเทน้ำปัสสาวะออกจากถุง ท่อทางออกจะต้องไม่สัมผัสกับภาชนะรองรับ และ
ภายหลังเทให้ปิดท่อทางออกทุกครั้ง
2.3 ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลและใส่ถุงมือเมีอมีโอกาสสัมผัสปัสสาวะของผู้ป่วย
2.4 ทำความสะอาดอวัยะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณรูเปิดทอปัสสาวะและสายสวนปัสสาวะ
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า เย็น และทุกครั้งภายหลังถ่ายอุจจาระ
2.5 ควรเทปัสสาวะออกจากถุงเก็บปัสสาวะเมื่อมีน้ำปัสสาวะ ประมาณ 3 ใน 4 ของถุงหรือ
ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.6 ฤงเก็บปัสสาวะแขวนไว้กับขอบเตียงไม่แขวนไว้ที่เหล็กกั้นข้างเตียง หรือวางไว้กับพื้น
กรณีที่จำเป็นต้องยกสูง ให้ใช้ตัวหนีบหนีบสายหรือหักพับสายก่อนยกถง เพื่อป้องกันการไหลยอน
กลับของน้ำปัสสาวะ
2.7 หากถุงเก็บปัสลาวะหรือสายสวนปัสสาวะรั่ว ให้สวนปัสสาวะ และเปลี่ยนถุงเก็บปัสสาว ะใหม่ทั้งชุด
2.8 ถุงเก็บปัสสาวะใช้ได้นาน 28 วัน (ประมาณ 1 เดือน) โดยไมต้องเปลี่ยน ยกเว้นมีปัญหา เช่น
สายสวนหลุด ถุงขาด รั่ว เป็นต้น
2.9 การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน
ควรเปลี่ยนสายสวนใหม่เมื่อคาสายสวนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าไม่พบหินปูนที่ปลายสายสวนครั้งต่อไปให้ลอง
เปลี่ยนเมื่อครบ 4 , 6 และ 8 สัปดาห์ ตามลำดับ
2.10 แนะนำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบคคล การล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งภายหลังถ่ายอุจาระทุกครั้ง
2.11 แนะนำให้รับประทานอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรด จะช่วยลดโอกาสเกิดการเจริญเติบโตของ
เชื้อเเบคทีเรีย อาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ขนมปัง ลูกพรุน น้ำส้ม น้ำกระเจี๊ยบแดง
อาหารพวกธัญพืช พบว่าการดื่มน้ำผลไม้จำนวนมาก จำพวกน้ำ cranbery น้ำลูกพรุน และวิตามนิ จะช่วยลด
การติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะของผู้สูงอายุได้ พิรุณ รัตนวนิช ได้ศึกษาผลของน้ำกระเจี๊ยบแดงต่อการลด
ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างโดยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและน้ำกระเจี๊ยบแดงรวม 2,000 มิลลิลิตรขึ้นไป
พบว่าผู้ป่วยมการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะลดลงเช่นเดียวกับผู้ป่วยทีได้รับยาต้านจุลชีพตามปกติ
2.12 สังเกตและซักถามอาการและอาการแสดงออกของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น
ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน กลิ่นฉุน เป็นต้น ถ้าพบต้องรายงานให้แพทย์ทราบทันที
3. การบันทึกจำนวนน้ำได้รับและออกจากร่างกาย (water intake and water output) จำนวนน้ำที่ได้รับและ
ออกจาก ร่างกายในรอบ 24 ชั่วโมง จะต้องบันทีกตรงตามเวลา และได้ปริมาณที่ถูกต้อง น้ำที่ได้รับได้แก่ น้ำดื่ม
นม น้ำผลไม้ สารน้ำทางหลอดเลือดดำ อาหาร ทางสายให้อาหารน้ำที่ออกจากร่างกาย ได้แก่ สิ่งขับหลังทางสายต่าง
ๆ ปัสสาวะ ทั้งนี้จะต้องสังเกตลักษณะของปัสสาวะตั้งแต่สายสวนปัสสาวะจนถึงถุงเก็บปัสสาวะ เพี่อดูความผิดปกติ
ของสีและลักษณะปัสสาวะ เช่นมีเลือดปน ตะกอน ขุ่น มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
4. การดูแลความสุขสบาย (Promotion of comfort) เนื่องจากผู้ป่วยไม่คุ้นเคยกับการมีสายสวนปัสสาวะคาไว้
จะทำให้ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่สะดวก สายสวนปัสสาวะอาจมีการดึงรั้ง เลื่อนเข้าออก และอาจรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์
ของตนเองได้ ดังนั้นจีงควรดูแลเลือกเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยสวมใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
ถึงเหตุผลที่จำเป็นต้องสวนปัสสาวะคาไว้ และแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับ และรู้สึกว่าใกล้เคียงปกติมากที่สุด
     การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ (Removal of Indwelling catheter)
การใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้เป็นเวลานาน มักเกิดปัญหาคือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หย่อน
สมรรถภาพเกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชนิด urge incontinence ได้ พยาบาลสามารถป้องกันปัญหานี้ดั้วยการฟึ้น
ฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอย่างน้อย 10 ชั่วโมงก่อนที่จะทำการถอดสายสวนปัสสาวะ ออกตามแผนการรักษา
ของแพทย์โดยการปิด clamp ปล่อยให้ปัสสาวะไหลออก เป็นระยะๆ เพื่อให้ปริมาณปัสสาวะเป็นตัวกระตุ้นผนังของ
กระเพาะปัสสาวะให้มีการบีบตัวไล่ปัสสาวะออกมาขณะปล่อยให้ปัสสาวะค่อยไหลออกนาน 5-10 นาที ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้งขี้นไป
การถอดสายสวนปัสสาวะทีคาไว้ออกพยาบาลจะต้องปฏิบัติด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ รวมทั้งระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นบริเวณ
ท่อปัสสาวะและความไม่สุขสบายของผู้ป่วยด้วยโดย
1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม มีถุงมือสะอาดกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือเท่ากับปริมาณน้ำกลั่นที่ใส่เข้าไปในลูกโป่ง
2. ก่อนทำอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลในการถอดสายสวนปัสลาวะออก
3. ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
4. ใส่ถุงมือ ต่อกระบอกฉีดยากับปลายสายสวนปัสสาวะทางหางที่เป็นแถบสี ดูดน้ำกลั่นออก
จากลูกโป่ง ให้หมด
5. ผู้ป่วยอาจมีความเจ็บปวดขณะดึงสายออก บอกผู้ป่วยให้หายใจยาว ๆ ค่อย ๆ ดึงสายสวนปัสสาวะออกอย่างเบามือและชำระ
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกอีกครั้งหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น